หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
 
หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล วังไทร ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
วิสัยทัศน์ อบต.วังไทร
“ ชุมชนน่าอยู่ เฟื่องฟูวัฒนธรรม น้อมนำการศึกษา
เกษตรธรรมเทคพัฒนา ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ”
นางสุนันทา สุขสาสุณี
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังไทร
 
องค์การบริหารส่วนตำบลวังไทร ยินดีต้อนรับ
 
 



 

ลำดับภาพที่ 1/3

ลำดับภาพที่ 2/3

ลำดับภาพที่ 3/3
<<
>>
X
 
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย
หมอพื้นบ้านรักษาโรคงูสวัด  
 

ชื่อ นายดวด  ศิลาเงิน
วัน/เดือน/ปีเกิด  1  มกราคม  2480
อายุ 80 ปี
อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 409  หมู่ที่ 4  ตำบลวังไทร  อำเภอคลองขลุง  จังหวัดกำแพงเพชร
อาชีพจักสานและหมอแผนโบราณ
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น  หมอพื้นบ้านรักษาโรคงูสวัด

จากการสอบถามคุณตาดวด ท่านได้บอกว่าโรคงูสวัดจะพบในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ซึ่งมักจะเกิดบริเวณผิวหนังตามร่างกาย   ลักษณะเป็นผื่นหรือตุ่มตามยาว   ส่วนใหญ่งูสวัดจะขึ้นบริเวณแนวบั้นเอวหรือแนวชายโครง หรือบางคนอาจขึ้นที่ใบหน้า แขน หรือขาแต่จะมีลักษณะการขึ้นที่คล้ายกันคือขึ้นเพียงซีกใดหนึ่งของร่างกายเท่านั้น  โรคงูสวัดเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรงและเป็นโรคที่มักจะหายได้เองเป็นส่วนใหญ่  แต่บางคนหลังจากที่แผลหายแล้วอาจมีอาการปวดและคันบริเวณที่เป็นแผล  การรักษาจะใช้วิธีการพ่นด้วยเหล้าขาว หลังจากนั้น  4 - 5  วัน  แผลก็จะแห้งและหายไปเอง อย่างไรก็ตามคุณตาดวดบอกว่าบางครั้งโรคนี้ก็อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ  ได้  ดังนั้นจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาและป้องกันเพื่อให้ไกลจากโรคงูสวัด

โรคงูสวัด  มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส Varicella zoster virus  หรือ VZV  เชื้อชนิดนี้จะทำให้เกิดโรคในคน คืออีสุกอีใสและงูสวัด  เมื่อเชื้อไวรัส  VZV เข้าสู่ร่างกายครั้งแรกจะทำให้ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเป็นโรคงูสวัดแล้วเชื้อไวรัสจะไปหลบตามปมประสาทต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เส้นประสาทอักเสบ  และปล่อยเชื้อไวรัสออกมาที่ผิวหนัง  พอถึงช่วงที่ร่างกายอ่อนเพลีย มีภูมิคุ้มกันลดลง เชื้อไวรัสจะเริ่มเพิ่มจำนวน แล้วจะแสดงอาการของโรคงูสวัดขึ้น

ลักษณะอาการของโรคงูสวัด สามารถแบ่งออกได้เป็น  3  ระยะ  คือ
ระยะที่ 1  ผู้ป่วยจะมีอาการปวดและแสบร้อนที่ผิวหนังโดยที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้  ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ผู้ป่วยมีภูมิต้านทานของร่างกายที่ลดต่ำลง ทำให้เชื้อไวรัสเริ่มมีการเพิ่มจำนวนในร่างกายตามปมประสาทต่างๆ ทำให้เกิดอาการปวดและแสบร้อนได้
ระยะที่ 2  หลังจากนั้นประมาณ 2 - 3 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีผื่นสีแดงขึ้นที่ผิวหนัง แล้วจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ ซึ่งจะเรียงกันเป็นกลุ่มและเป็นแนวยาวเรียงไปตามกลุ่มของเส้นประสาทของร่างกาย เช่น ตามแขน ขา แผ่นหลังหรือรอบๆ เอว  ต่อมาตุ่มใสๆ ของโรคงูสวัดนี้จะเริ่มแตกและจะตกสะเก็ด ซึ่งแผลเหล่านี้จะหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์
ระยะที่ 3  เมื่อแผลที่ตกสะเก็ดแห้งและหายดีแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะยังมีอาการปวดและแสบร้อนตามรอยแนวของแผลอยู่  บางคนอาจจะต้องใช้เวลานานกว่าจะหายซึ่งขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและภูมิคุ้มกันของแต่ละคน
การดูแลรักษาด้วยตัวเอง
1. ในระยะที่เป็นตุ่มน้ำใสให้รักษาแผลให้ดีโดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่นๆ หรือกรดบอริค 3 % ปิดประคบไว้ประมาณ  5 - 10  นาที  แล้วชุบเปลี่ยนใหม่ ทำเช่นนี้วันละ  3 &ndash; 4  ครั้ง
2. ในระยะที่ตุ่มน้ำแตก มีน้ำเหลืองไหล ต้องระมัดระวังการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่อาจเข้าสู่แผลได้ ควรล้างแผลด้วยน้ำเกลือสะอาด แล้วปิดแผลด้วยผ้าก๊อซหากมีอาการปวดแผลมาก สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ ผู้ป่วยไม่ควรใช้เล็บแกะหรือเกาตุ่มงูสวัด เพราะอาจจะทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้
จนกลายเป็นตุ่มหนอง  จะทำให้แผลหายช้าและอาจกลายเป็นแผลเป็นได้   ซึ่งผู้ป่วยสามารถที่จะรับประทานอาหารได้ตามปกติ

 

ข่าว ณ. วันที่ 17 พ.ค. 2565 เวลา 19.02 น. โดย คุณ เพ็ญพักตร์ พุ่มฉัตร

ผู้เข้าชม 114 ท่าน

 
 
 
 
 
รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร : 089-960-1702